เมื่อสืบค้นข้อมูลเกี่ยวกับ "เบอร์อุนแดนก้า" (Burundanga) พบว่า มีเมลส่งต่อ (forward mail) เกี่ยวกับเบอร์อุนแดนก้าเป็นภาษาอังกฤษ ซึ่งเริ่มส่งให้กันเมื่อเดือนพฤษภาคม 2551
ในสหรัฐอเมริกา ซึ่งเมื่อเปรียบเทียบแล้วคาดว่าอีเมล ‘ภัยจากนามบัตร’ จากหนังสือพิมพ์มติชน เป็นข้อความที่แปลออกมา
- นักวิจารณ์ชาวอเมริกันได้วิเคราะห์เมลส่งต่อฉบับนี้ไว้ว่ามีจุดที่น่าสงสัย 2 ประการ ได้แก่
1. ผู้ส่งเมลเล่าว่ามีอาการหลังจากที่สัมผัสกับนามบัตร แต่ระยะเวลาการเริ่มออกฤทธิ์จากการสัมผัสสารสโคโปลามีนสารต้องมีระยะเวลาที่นานกว่านี้ (ใช้เวลาเป็นชั่วโมง)
2. ผู้ส่งเมลเล่าว่าได้กลิ่นจากมือ ซึ่งมาจากการจับนามบัตร แต่จากเอกสารอ้างอิงมาทางวิทยาศาสตร์ระบุว่าสารสโคโปลามีนไม่มีกลิ่น
นอกจากนี้ไม่เคยมีแหล่งข่าวที่ยืนยันว่ามีการก่อคดีเช่นนี้จริงในสหรัฐอเมริกา จึงขอสรุปว่าข้อมูลอีเมลส่งต่อเรื่อง ‘ภัยจากนามบัตร’ ฉบับนี้ ไม่เป็นความจริง
ข้อมูลทางวิชาการของเบอร์อุนแดนก้า (Burundanga)
เบอร์อุนแดนก้า เป็นอีกชื่อหนึ่งที่ใช้เรียกยาสโคโปลามีน (scopolamine)
ในอเมริกาใต้มีเรื่องเล่าลือซึ่งเกี่ยวข้องกับเบอร์อุนแดนก้าว่าเป็นสารที่กินเพื่อให้เกิดภาวะเหมือนจิตที่เข้าฌานหรือทรงเจ้าในพิธีของหมอผี
มีรายงานการใช้ยานี้เพื่อก่ออาชญากรรมครั้งแรกในประเทศโคลัมเบีย ในช่วงทศวรรษ1980 และตามที่รายงานไว้ในบทความที่ตีพิมพ์ใน Wall Street Journal ปี 1995 (รายละเอียดตามแนบ) ว่ามีการใช้เบอร์อุนแดนก้าช่วยในการก่ออาชญากรรมระบาดมากในช่วงทศวรรษ1990 บทความกล่าวว่าการใช้ก่ออาชญากรรมที่พบคือ จะให้เหยื่อดื่มเครื่องดื่มที่มีเบอร์อุนแดนก้าผสมอยู่ ต่อมาเหยื่อจะตื่นขึ้นมาในสถานที่ห่างออกไป มีอาการมึนงงมาก และจำเรื่องราวไม่ได้ว่าเกิดอะไรขึ้น ข้าวของเงินทองหายไป แม้ว่าเหตุการณ์ดังกล่าวเข้าใจว่าลดลงเหมือนกับการเกิดอาชญากรรมอื่นๆ แล้วก็ตาม แต่สหรัฐอเมริกาก็ยังคงเตือนนักท่องเที่ยวให้ระวังอาชญากรในโคลัมเบียที่จะใช้ยามอมนักท่องเที่ยวเพื่อให้ไร้ความสามารถชั่วคราว
สโคโปลามีนมีที่ใช้ในทางการแพทย์หลายรูปแบบได้แก่ ยาฉีด ยาเม็ดรับประทาน และแผ่นแปะ
ข้อบ่งใช้ จะแตกต่างกันขึ้นกับรูปแบบของยาที่ให้
- ยาฉีด เป็นยาที่ให้ก่อนการผ่าตัดเพื่อให้สูญเสียความจำ สงบระงับ และลดการหลั่งน้ำลายและลดสารหลั่งจากทางเดินหายใจ
- ยารับประทาน ใช้รักษาโรคพาคินสัน โรคลำไส้แปรปรวน (Irritable bowel syndrome, IBS) ป้องกันอาการเมารถเมาเรือ
แผ่นยาแปะที่มีขายในต่างประเทศ
- แผ่นยาแปะ ป้องกันอาการคลื่นไส้อาเจียนที่เกี่ยวกับการใช้ยาสลบหรือยาแก้ปวดกลุ่มโอปิเอต ป้องกันอาการเมารถเมาเรือ
- ขนาดยา ยาเม็ด 10 มก. รับประทาน 1-2 เม็ด วันละ 3 เวลา
- ยาฉีด 20 มก/มล ให้ไม่เกิน 1.5 มก/กก/วัน
- รับประทาน และฉีดเข้ากล้าม 0.5-1 ชั่วโมง
- ฉีดเข้าเส้น 10 นาที
- แผ่นยาแปะ 4 ชั่วโมง
ระยะเวลาการออกฤทธิ์
- รับประทาน และฉีดเข้ากล้าม 4-6 ชั่วโมง
- ฉีดเข้าเส้น 2 ชั่วโมง
- แผ่นยาแปะ 3 วัน
การจัดประเภทตามกฎหมาย จัดเป็นยาอันตราย ตามพระราชบัญญัติยา พ.ศ.2510
ที่มา : กลุ่มวิจัย พัฒนา และระบาดวิทยา กองควบคุมวัตถุเสพติด 20 มกราคม 2552
ที่มา : กลุ่มวิจัย พัฒนา และระบาดวิทยา กองควบคุมวัตถุเสพติด 20 มกราคม 2552
No comments:
Post a Comment