กรณีของนายประชา มาลีนนท์ และพลตำรวจตรีอธิลักษณ์ ตันชูเกียรติ ที่ศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการ พิพากษาลงโทษจำคุก 12 ปี และ 10 ปี ตามลำดับนั้นอยากขอเพิ่มเติม เนื่องจากมีผู้เข้าใจผิดว่า "ไม่มีอายุความ"
โดยอ้างว่า เป็นไปตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ.2542 แก้ไขเพิ่มเติม(ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2554 มาตรา 74/1 ที่บัญญัติว่า ถ้าผู้ถูกกล่าวหาหลบหนีไปในระหว่างดำเนินคดี มิให้นับระยะเวลาที่หลบหนีเป็นส่วนหนึ่งของอายุความ
ขอเรียนว่า กรณีตามมาตรา 74/1 ดังกล่าวต้องเป็นกรณีที่อยู่ในระหว่างการพิจารณาคดี ก่อนที่ศาลจะมีคำพิพากษา เช่น ผู้ถูกกล่าวหาหลบหนีไปในระหว่าง คณะกรรมการ ป.ป.ซ.กำลังดำเนินการไต่สวน หรือในระหว่างที่ศาลกำลังพิจารณาสืบพยานโจทก์หรือพยานจำเลยยังไม่เสร็จ จำเลยหลบหนี จึงไม่ให้นับเวลาที่หลบหนีว่าเป็นส่วนหนึ่งของอายุความ
แต่กรณีของนายประชา มาลีนนท์ และพลตำรวจตรีอธิลักษณ์ ตันชูเกียรติ ศาลมีคำพิพากษาแล้ว จึงนำมาตรา 74/1 มาใช้บังคับไม่ได้
ต้องเป็นไปตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 98 คือ มีอายุความ 15 ปี ทั้งสองคน ครับ
โดย : นายชูชาติ ศรีแสง
โดยอ้างว่า เป็นไปตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ.2542 แก้ไขเพิ่มเติม(ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2554 มาตรา 74/1 ที่บัญญัติว่า ถ้าผู้ถูกกล่าวหาหลบหนีไปในระหว่างดำเนินคดี มิให้นับระยะเวลาที่หลบหนีเป็นส่วนหนึ่งของอายุความ
ขอเรียนว่า กรณีตามมาตรา 74/1 ดังกล่าวต้องเป็นกรณีที่อยู่ในระหว่างการพิจารณาคดี ก่อนที่ศาลจะมีคำพิพากษา เช่น ผู้ถูกกล่าวหาหลบหนีไปในระหว่าง คณะกรรมการ ป.ป.ซ.กำลังดำเนินการไต่สวน หรือในระหว่างที่ศาลกำลังพิจารณาสืบพยานโจทก์หรือพยานจำเลยยังไม่เสร็จ จำเลยหลบหนี จึงไม่ให้นับเวลาที่หลบหนีว่าเป็นส่วนหนึ่งของอายุความ
แต่กรณีของนายประชา มาลีนนท์ และพลตำรวจตรีอธิลักษณ์ ตันชูเกียรติ ศาลมีคำพิพากษาแล้ว จึงนำมาตรา 74/1 มาใช้บังคับไม่ได้
ต้องเป็นไปตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 98 คือ มีอายุความ 15 ปี ทั้งสองคน ครับ
โดย : นายชูชาติ ศรีแสง
No comments:
Post a Comment