Monday 7 October 2013

ผลสำรวจเกี่ยวกับ "ลักษณะโบนัส"ที่จ่ายกันในประเทศไทย ประจำปี 2013

จากผลการสำรวจ "ลักษณะโบนัส" เพื่อแรงจูงใจการทำงาน ในปี 2013
มีรายงานผลการสำรวจดังนี้  (จากผลการสำรวจค่าจ้างของ PMAT)

1. มีจำนวนองค์กรถึง 70% กำหนดนโยบายการให้โบนัสแบบ "ผันแปรตามผลงานส่วนบุคคล" คือ

  • โบนัสที่จะให้นั้นไม่ให้พนักงานทุกคนเท่ากัน 
  • จะใช้ผลงานของพนักงานที่ทำได้ในปีนั้นๆ มาเป็นเครื่องมือในการให้โบนัส
  • พนักงานแต่ละคนได้โบนัสไม่เท่ากัน
  • บริษัทฯ คิดว่าวิธีนี้เป็นวิธีที่สร้างแรงจูงใจในการสร้างผลงานของพนักงานได้ดีที่สุด
  • ข้อจำกัดก็คือ องค์กรจะต้องมีระบบการประเมินผลงานที่ดีมาก และสามารถที่จะบอกถึงผลงานของพนักงานแต่ละคนได้อย่างชัดเจน
  • วิธีการนี้มีการใช้เพิ่มขึ้นจากปีที่ผ่านมาซึ่งมีแค่ 58% ปีนี้ปรับเป็น 70 %
  • วิธีนี้เริ่มได้รับความนิยมมากขึ้นทุกปีๆ ในระยะ 10 ปี ที่ผ่านมา


2. มีจำนวนองค์กร 20% ให้โบนัสพนักงานเท่ากันทุกคน

  • บริษัทที่ยังคงให้โบนัสพนักงานเท่ากันทุกคนนั้น ส่วนใหญ่ให้เหตุผลว่า เน้นการทำงานเป็นทีมมากกว่าเน้นการที่ให้พนักงานแต่ละคนแข่งขันกันสร้างผลงานกันเอง โดยไม่พิจารณาถึงผลงานที่แตกต่างกันของพนักงานแต่ละคน 
  • พิจารณาจากยอดโบนัสที่จะให้เท่านั้น


3. มีจำนวนองค์กร อีก 10% ให้โบนัสผสมผสานกันทั้งสองวิธี

  • กำหนดการจ่ายโบนัสออกเป็น 2 ลักษณะ คือ ส่วนหนึ่งให้เท่ากันทุกคน 
  • อีกส่วนหนึ่ง ให้ต่างกันตามผลงานของพนักงานแต่ละคน เพื่อที่จะรักษาการทำงานเป็นทีมไว้ส่วนหนึ่ง 
  • ส่งเสริมการสร้างผลงานที่ดีของพนักงานด้วย ใครที่ทุ่มเททำงาน และสามารถสร้างผลงานที่ดีกว่าอีกคนหนึ่ง ก็น่าจะได้โบนัสที่มากกว่าคนที่ทำผลงานได้น้อยกว่า


อัตราโบนัสที่บริษัทต่างๆ ให้กันในปีที่ผ่านมาเป็นอย่างไรกันบ้าง??

1)โบนัสคงที่ บริษัทที่มีการจ่ายโบนัสแบบคงที่ คือ ให้พนักงานทุกคนเท่ากันหมด อัตราเฉลี่ยที่องค์กรส่วนใหญ่ให้กันก็คือ 1.5 เดือน

2) โบนัสผันแปรตามผลงาน บริษัทที่จ่ายโบนัสพนักงานไม่เท่ากัน หรือแตกต่างกันกันตามผลงานพนักงานแต่ละคนนั้น ให้โบนัสเฉลี่ยอยู่ที่ 2.3 เดือน

3) บริษัทที่ให้โบนัสผสมทั้งสองแบบ ให้โบนัสเฉลี่ยอยู่ที่ 2.8 เดือน

ข้อมูลข้างต้นเป็นข้อมูลเฉลี่ยของทุกกลุ่มอุตสาหกรรมรวมกัน แต่ถ้ามีการแยกอุตสาหกรรม การจ่ายโบนัสจะมีความแตกต่างกันค่อนข้างมากทีเดียวครับ ในปีที่ผ่านมานั้น ธุรกิจที่จ่ายโบนัสสูงสุด (จากผลการสำรวจค่าจ้างของ PMAT) 5 อันดับแรกมีดังนี้


  • กลุ่มธุรกิจยานยนต์ จ่ายโบนัสเฉลี่ยที่ 9 เดือน
  • กลุ่มปิโตรเคมี จ่ายโบนัสเฉลี่ยที่ 8 เดือน
  • กลุ่มไฟฟ้าและอิเล็คทรอนิคส์ จ่ายโบนัสเฉลี่ยที่ 5.25 เดือน
  • กลุ่มอสังหาริมทรัพย์ จ่ายโบนัสเฉลี่ยที่ 5 เดือน
  • กลุ่มธุรกิจอาหาร จ่ายโบนัสเฉลี่ยที่ 5 เดือน


อจ.ประคัลภ์ ผู้เชี่ยวชาญงาน HR ให้ความเห็นว่า #

สิ่งที่ผมสังเกตเห็นจากผลการสำรวจค่าจ้างฯ มาทุกปีเป็นเวลามากกว่า 15 ปี ก็คือ แนวโน้มเรื่องของการขึ้นเงินเดือนตามผลงานนั้นมีแนวโน้มที่ลดลงไปเรื่อยๆ จาก 15 ปีก่อนที่อยู่ในอัตราประมาณ 10-15% แต่ในปัจจุบันเหลืออยู่แค่ประมาณ 5-6% เท่านั้น และกำลังจะมีแนวโน้มที่ลดลงไปเรื่อยๆอีก 

สาเหตุก็เพราะถ้าองค์กรขึ้นเงินเดือนให้พนักงานในอัตราที่สูงมากๆ จะเป็นการเพิ่มภาระในการบริหารค่าตอบแทนขององค์กรมากขึ้นทุกปี เนื่องจากประเทศไทยเงินเดือนลดไม่ได้ มีแต่จะเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ แต่องค์กรยังต้องการที่จะสร้างแรงจูงใจให้พนักงานให้มีพลังในการที่จะสร้างผลงานที่ดีอย่างสม่ำเสมอ และเครื่องมือที่จะสร้างแรงจูงใจที่เหมาะสม และไม่ทำให้ต้นทุนค่าจ้างสูงขึ้นในระยะยาว ก็คือ “โบนัส” ตามผลงานนั่นเอง....

No comments:

Post a Comment