Monday 23 September 2013

“ในหลวงทรงคิดแก้ปัญหาน้ำไว้รอบด้าน” โดย ปราโมทย์ ไม้กลัด


ในหลวงทรงคิดแก้ปัญหาน้ำไว้รอบด้าน
โดย ปราโมทย์ ไม้กลัด

41

กล่าวได้ว่าองค์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงเป็นหนึ่งในพระมหากษัตริย์ที่ทรง เปี่ยมไปด้วยพระอัจฉริยภาพหลากหลายด้าน แม้แต่เรื่องน้ำและปัญหาอุทกภัยที่คนไทยกำลังประสบอยู่ในขณะนี้
พระองค์ก็ทรงวางแนวทางในการป้องกันและแก้ไขมานานนับสิบปีแล้ว มีโครงการในพระราชดำริออกมามากมาย เพียงแต่ฝ่ายบริหารและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้น้อมนำไปปฏิบัติหรือไม่ เท่านั้น ?
ผู้เชี่ยวชาญด้านน้ำอย่าง ปราโมทย์ ไม้กลัด‘ อดีต อธิบดีกรมชลประทาน อดีตผู้อำนวยการสำนักงานคณะกรรมการทรัพยากรน้ำแห่งชาติ และคณะกรรมการบริหารโครงการพัฒนาลุ่มน้ำป่าสัก อันเนื่องมาจากพระราชดำริ ซึ่งได้ติดตามถวายงานพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมานานนับสิบปี
ได้ถ่ายทอดถึงพระอัจฉริยภาพของพระองค์ท่านในการทรงงานด้านน้ำในหลากหลายแง่มุม อันนำมาซึ่งความปลาบปลื้มใจของคนไทยที่อยู่ภายใต้ร่มพระบรมโพธิสมภาร
**ไม่ทราบว่าอาจารย์ได้มาทำงานเรื่องน้ำถวายพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวตั้งแต่เมื่อไร
คือผมทำงานอยู่กรมชลประทาน และได้ไปทำงานถวายพระองค์ท่านตั้งแต่ 2520 ผมทำงานเป็นวิศวกรพิจารณาโครงการสนองพระราชดำริ ตอนนั้นก็ยังเดินตามหลังนายช่างใหญ่ ตามหลังอธิบดี จนกระทั่ง 2527 ก็ได้ทำงานในโครงการพระราชดำริในฐานะผู้แทนของกรมชลประทานอย่างเต็มตัว
**เหตุใดพระองค์จึงสนพระราชหฤทัยเรื่องน้ำเป็นพิเศษ
ปัญหาเรื่องน้ำเป็นเรื่องที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงสนพระราช หฤทัยมากที่สุด เนื่องจากราษฎรไทยส่วนใหญ่เป็นเกษตรกรซึ่งเป็นอาชีพที่ต้อง พึ่งพาน้ำ ไม่ว่าจะเป็นพื้นที่ในภาคเหนือ อีสาน กลาง ใต้
เพราะฉะนั้นพระองค์จึงมุ่งมั่นที่จะทรงงานเพื่อแก้ไขปัญหาเรื่องน้ำ พระองค์ท่านทรงมีพระอัจฉริยภาพในเรื่องการบริหารจัดการน้ำอย่างมาก ซึ่งกระบวนการการทรงงานจากที่ผมได้ติดตามพระองค์ท่านมาโดยตลอดก็จะเห็นว่า พระองค์ทรงงานแก้ไขปัญหาเรื่องน้ำใน 3 ด้านด้วยกัน คือ
การแก้ปัญหาเรื่องการขาดแคลนน้ำ ซึ่งพระองค์ท่านจะมุ่งไปในจุดที่การทำงานของรัฐบาลเข้าไปไม่ถึง ในพื้นที่ชนบทที่ห่างไกล แร้นแค้น เพราะพระองค์ท่านได้รับทราบปัญหาจากฎีกา หรือจดหมายร้องทุกข์ของประชาชนที่ส่งมาถึงพระองค์ท่าน
การแก้ปัญหาของพระองค์ก็จะยึดหลักการที่สอดคล้องกับสภาพธรรมชาติ อย่างหลักการเรื่องวิศวกรรมน้ำ พระองค์ก็จะดูว่าถ้าผืนดินแห้งตรงนี้ควรทำอะไร ถ้าผันน้ำจากธรรมชาติควรทำอย่างไร รูปแบบที่จะดำเนินงานก็จะเป็นการผสานระหว่างหลักการทางเทคนิคและหลัก ธรรมชาติของน้ำ
การปัญหาน้ำท่วม ซึ่งไม่ว่าจะเกิดน้ำท่วมในภาคเหนือ กลาง อีสาน ใต้ พระองค์ก็จะเสด็จพระราชดำเนินลงไปในพื้นที่เพื่อทอดพระเนตรปัญหา ทรงช่วยรัฐบาลแก้ปัญหา
พระองค์ก็จะเรียกประชุมผู้เกี่ยวข้องเพื่อรับฟังข้อมูลและระดมความเห็น หามาตรการแก้ปัญหาภายใต้โครงการบรรเทาอุทกภัยอันเนื่องมาจากพระราชดำริ คือฝ่ายรัฐบาลเขาก็ว่าของเขาไป ขณะที่พระองค์ก็มุ่งลงไปในพื้นที่ซึ่งเกิดน้ำป่าไหลหลาก แผ่นดินถล่ม ย่านเศรษฐกิจในตัวเมืองที่ได้รับผลกระทบ
การแก้ปัญหาเรื่องคุณภาพน้ำ ไม่ว่าจะเป็น น้ำเสีย หรือน้ำเค็ม น้ำกร่อย สำหรับการแก้ไขปัญหาน้ำเน่าเสียนั้นพระองค์ท่านก็ทรงศึกษาทดลองในหลายลักษณะ
 เช่น โครงการบึงมักกะสัน ซึ่งเป็นการปรับปรุงคุณภาพน้ำในบึงซึ่งมีการเน่าเสียโดยใช้เครื่องกรองน้ำธรรมชาติ’’ คือผักตบชวาเป็นตัวกรอง โครงการบึงพระราม 9 ซึ่งบำบัดน้ำเสียด้วยวิธีใช้เครื่องเติมอากาศ แบบทุ่นลอย
 นอกจากนั้นยังมีโครงการที่เรารู้จักกันดีคือกังหันน้ำชัยพัฒนา ซึ่งพระองค์ทรงประดิษฐ์คิดค้นเครื่องมืออุปกรณ์แบบง่ายๆในการบำบัดน้ำเสีย โดยใช้หลักการตีน้ำเพื่อเติมอากาศ
ส่วนการแก้ปัญหาน้ำเค็ม- น้ำกร่อยนั้นคนทั่วไปอาจไม่รู้ว่าพระเจ้าอยู่หัวทรงศึกษาและทำโครงการแก้ไข ปัญหาน้ำในลักษณะนี้ด้วย โครงการนี้เกิดจากการที่พระองค์ทรงเป็นห่วงราษฎรว่า  ถ้าน้ำเค็มน้ำกร่อยไหล เข้าไปในพื้นที่การเกษตร ในเรือกสวนไร่นาจะทำอย่างไร
พระองค์จึงโปรดให้ดำเนินโครงการพัฒนาลุ่มน้ำขึ้น เช่น โครงการพัฒนาพื้นที่ลุ่มน้ำปากพนัง ที่จังหวัดนครศรีธรรมราช ซึ่งเป็นโครงการใหญ่ มีการสร้างประตูบังคับน้ำกั้นแม่น้ำปากพนังเพื่อกักน้ำจืดไว้และกันน้ำทะเล ไม่ให้เข้ามา หรือโครงการพัฒนาลุ่มน้ำบางนรา จ.นราธิวาส ซึ่งใช้หลักการเดียวกัน
**พระองค์ทรงคิดแก้ปัญหาน้ำไว้รอบด้าน 
       ใช่ครับ น้ำน้อย น้ำไม่มี พระองค์ก็ทรงหาน้ำให้ น้ำมากเกินไปจนเกิดอุทกภัยก็เกิดโครงการนั้นโครงการนี้ขึ้นมา อย่างกรุงเทพมหานครก็มีโครงการในพระราชดำริของพระองค์ท่านเยอะ
ในภาคใต้ อย่างหาดใหญ่ นครศรีธรรมราช ซึ่งเกิดน้ำป่าไหลหลาก พระองค์ก็ทำโครงการเพื่อแก้ปัญหา พื้นพี่ไหนเกิดปัญหาเรื่องคุณภาพน้ำ ไม่ว่าจะเป็น น้ำเน่าเสีย น้ำเค็ม น้ำกร่อย ก็ทรงคิดหาวิธีแก้ปัญหาให้
** หลายๆ ครั้ง พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวก็เสด็จพระราชดำเนินลงไปดูพื้นที่น้ำท่วมด้วยพระองค์เอง
        ใช่ เกิดปัญหาที่ไหนพระองค์จะเสด็จลงไปเลย สมัยที่พระองค์ยังทรงมีพระพลานามัยแข็งแรงพระองค์ท่านจะเสด็จไปยังพื้นที่ เลย อย่างๆน้อยก็ต้องทอดพระเนตรพื้นที่น้ำท่วม ทรงลงไปดูปัญหา ไปให้กำลังใจผู้ปฏิบัติงาน
หลังจากนั้นก็จะทรงปรึกษากับวิศวกรน้ำ กับข้าราชการชั้นผู้ใหญ่ว่าจะทำอย่างไรกัน ทรงเรียกประชุม ให้เอาภาพถ่ายดาวเทียมมา ภาพถ่ายทางอากาศมา เอาข้อมูลมา วิเคราะห์กันว่าจะทำยังไง
พระองค์ท่านเสด็จไปทุกพื้นที่ แต่ถ้าไกลมากพระองค์ก็อาจจะเสด็จไปไม่ไหว ก็จะทรงเรียกเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องมาถวายรายงานและทรงแนะนำแนวทางปฏิบัติ คือพระองค์ทรงติดตามข้อมูลต่างๆทั้งในเชิงสังคม สิ่งแวดล้อม และเชิงเศรษฐกิจ จึงทรงมองปัญหาต่างๆ อย่างทะลุปรุโปร่ง
**เท่าที่อาจารย์ติดตามถวายงานพระองค์ท่านในการแก้ปัญหาน้ำท่วม มีเหตุการณ์ใหญ่ๆ เกิดขึ้นกี่ครั้ง
ก็จะมีน้ำท่วมใหญ่ในกรุงเทพฯเมื่อปี 2526 ตอนนั้นพื้นที่กรุงเทพฯและปริมณฑลยังอยู่กันแบบธรรมชาติ ไม่มีสิ่งปลูกสร้างมาก เมื่อเกิดน้ำท่วมก็ไม่มีอะไรมากีดขวาง น้ำก็ไหลไปตามธรรมชาติ คลองต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นคลองบางเขน คลองบางซื่อ คลองลาดพร้าว คลองแสนแสบ ก็รับน้ำจากแม่น้ำเจ้าพระยา
ตอนนั้นอยู่กันแบบเอ้าท่วมก็ท่วม พระองค์ท่านก็ทรงเสด็จไปดุสภาพพื้นที่เพื่อให้กำลังใจคนทำงานถึง 6-7 ครั้ง
ต่อมาปี 2538 ซึ่งเกิดน้ำท่วมใหญ่ที่กรุงเทพฯ เป็นปีที่เกิดโกลาหลมากที่สุดเพราะน้ำมวลใหญ่มันมา แต่ด้วยพระอัจฉริยภาพของพระองค์ท่าน พระองค์ทรงเรียกประชุมก่อนที่น้ำมวลใหญ่จะมาถึง
ตอนนั้นน้ำใหญ่มันก็มาโจมตีเยอะแต่ความเสียหายมันไม่มากเหมือนในปีนี้ ตอนนั้นสนามบินสุวรรณภูมิยังไม่มี น้ำท่วมยังกับทะเลเลย แต่กรีนเบลต์ ฟลัดเวย์ ยังทำงานได้ น้ำระบายออกได้ตามธรรมชาติ ไม่มีใครไปห้าม ก็สูบน้ำออกอ่าวไทยกันโกลาหล สูบออกตามแนวฟลัดเวย์ เขตเศรษฐกิจก็โกลาหลพอสมควรแต่ก็ป้องกันได้ น้ำไม่ทะลุสนามบินดอนเมือง ไม่ทะลุถนนวิภาวดี ไม่ทะลุลาดพร้าวหรอก
ตอนนั้นถนนราชชนนี ถนนรัชดาภิเษกมีน้ำท่วม ก็วิ่งรถฝ่าน้ำท่วมกัน คลองมหาสวัสดิ์ก็น้ำท่วมสูงต้องทำคันกั้นน้ำฉุกเฉินที่วัดบูรณาวาส ก็ไปช่วยกัน แต่ปีนั้นสถานการณ์ก็คลี่คลายไป มันไม่โกลาหลเท่าปี 2554
ปัจจุบันมันมีสิ่งปลูกสร้างเยอะ หมู่บ้านจัดสรร อะไรต่างๆเกิดขึ้นเยอะ แต่ปีนี้พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวท่านไม่ได้ทรงเข้ามาเกี่ยวข้องเพราะพระพลานามัยไม่ค่อยแข็งแรงเหมือนเมื่อก่อน
น้ำท่วมใหญ่ภาคใต้เมื่อปี 2531 ตอนนั้นน้ำท่วมหาดใหญ่ พระองค์ทรงเรียกเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องมาประชุมด่วน แล้วก็ทรงบัญชาการ วางแนวทาง พวกเราก็วิ่งกันวุ่นเลย คือพระองค์ทรงติดตามข้อมูลอยู่ตลอดเวลา ทรงคาดหมายเหตุการณ์ข้างหน้าได้ ทรงเห็นว่าจะเกิดอะไรขึ้นตั้งแต่น้ำยังไม่ลงมาเลย
พวกเราที่เป็นข้าราชการซึ่งรับใช้ถวายงานพระองค์ท่านก็ต้องตื่นตัว หาข้อมูล และถวายรายงานพระองค์ท่านตลอด หรือแม้แต่ภัยที่มันเกิดแล้วพระองค์ท่านก็ทรงคาดหมายถึงผลกระทบที่ตามมาได้ พระองค์ทรงเป็นนักคิดนักวิเคราะห์
พระราชดำรัสที่พระองค์พระราชทานก็เป็นหลักคิดที่รัฐบาลหรือบุคคลที่ เกี่ยวข้องต้องนำไปขบคิดและขับเคลื่อน
**จากที่อาจารย์ได้ติดตามถวายงานพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมานาน ได้เห็นความเหนื่อยยากของพระองค์อย่างไรบ้าง
ภาพที่เหล่าข้าราชบริพารและข้าราชการที่ถวายงานรับใช้พระองค์ท่านพบ เห็นมาโดยตลอดก็คือพระองค์ท่านทรงมุ่งที่จะทำงานเพื่อแก้ไขปัญหาให้กับ ประชาชน
 โดยเฉพาะประชาชนที่อยู่ในชนบท พระองค์ท่านมักเสด็จไปประทับตามภูมิภาคต่างๆ คราวละหลายๆเดือน เสด็จพระราชดำเนินทั้งปี เสด็จออกแถบทุกวัน เสด็จไปเยี่ยมเยียนประชาชน พระราชทานสิ่งของ พระราชทานโครงการ พระราชทานงาน
ความยากลำบากของพระองค์ท่านนี่ไม่น้อยหรอกครับ เสด็จออกไปในชนบทนี่ไม่มีสบาย ทรงเสียสละพระวรกายทรงงานด้วยความเหนื่อยยาก แต่ว่าพระองค์ท่านไม่ได้คำนึกถึงความเหนื่อยยากเหล่านี้เลย กลับทรงสนุกกับการทรงงานเพื่อช่วยเหลือประชาชน
พระองค์ท่านมักจะรับสั่งว่า ฉันสนุกกับการทำงาน” พระองค์ท่านไม่เคยตรัสว่าเหนื่อย แต่ภาพที่พวกเราเห็นอยู่เสมอเวลาที่พระองค์ทรงงานก็คือพระเสโท(เหงื่อ)ที่ ชุ่มโชกฉลองพระองค์
คือทรงเสด็จไปทุกภาค ทุกพื้นที่ เป็นเวลานับสิบๆปี ไม่เคยทรงเบื่อหน่าย พระองค์ทรงงานเพื่อประชาชน ไม่ได้ทำเพื่อพระองค์เอง แล้วก็ไม่เคยไปเกี่ยวข้องวอแวกับรัฐบาล มีแต่ทรงงานเพื่อช่วยรัฐบาล
**หลายครั้งประชาชนก็ได้เห็นภาพพระองค์ท่านเสด็จลงลุยน้ำด้วยพระองค์เอง
ใช่ครับ ไม่ว่าเหตุการณ์จะเป็นอย่างไร สภาพธรรมชาติจะเลวร้ายหรือมีอุปสรรคต่างๆพระองค์ท่านก็ไม่ทรงรังเกียจ น้ำท่วม ร้อนแล้ง พระองค์ท่านก็ทรงบุกไปทุกที่ เสด็จขึ้นดอย ในชนบทห่างไกลก็ทรงเสด็จไปเสมอ
พระกระยาหารที่พระองค์เสวย  ขณะเสด็จลงพื้นที่ก็จะเป็นอะไรที่ง่ายๆ พระองค์เสวยง่าย ไม่ได้ยึดว่าจะต้องเป็นแบบไหน เวลาเสด็จลงพื้นที่ก็มักจะมีพระกระยาหารใส่กล่องไว้ในรถยนต์พระที่นั่ง
เวลาทรงงานกระทั่งดึก ถึงทุ่ม ทุ่ม ก็จะเสวยแบบนี้ เจ้าหน้าที่จะก็เตรียมเครื่องเสวยไป ก็จะเป็นแบบง่ายๆ ผมเองสนองงานรับใช้พระองค์ท่านก็ได้มีโอกาสได้ร่วมโต๊ะเสวยกับพระองค์ท่าน บ่อยๆ อาหารที่พระองค์ท่านเสวยก็เป็นอาหารปกติเหมือนที่พวกเรากินกันนี่แหล่ะ ส่วนใหญ่จะเป็นอาหารไทย เป็นแกงเผ็ด แกงจืด ผัดผัก แล้วอาจจะมีอาหารตามประเพณีฝรั่งบ้าง
**ช่วงที่พระองค์ท่านทรงงาน ทรงพระประชวรบ้างไหม
ก็มีทรงพระประชวรเป็นคราวๆ แต่ในสมัยนั้นพระพลานามัยยังแข็งแรง แต่มาระยะหลัง ตั้งแต่ 2542 เป็นต้นมา พระพลานามัยของพระองค์ท่านไม่สู้แข็งแรง แล้วก็ทรงพระประชวรบ่อย อย่างที่เรารับรู้รับทราบกัน เพราะว่าพระองค์ทรงงานหนักมาตลอดพระชนม์ชีพ ไม่ได้ทะนุถนอมพระวรกาย ทรงใช้พระวรกายอย่างหนัก
**ขณะนี้พระองค์ทรงประชวรและประทับรักษาพระวรกายอยู่ที่โรงพยาบาลศิริราช แต่ก็ยังเสด็จลงมาทอดพระเนตรปริมาณน้ำที่ท่าน้ำศิริราชอยู่
คือพระองค์ทรงเป็นห่วงเกี่ยวกับสถานการณ์น้ำในขณะนี้ ทรงเป็นห่วงประชาชนที่กำลังเผชิญกับวิกฤตน้ำท่วม พร้อมทั้งได้พระราชทานถุงยังชีพ  เพื่อช่วยเหลือประชาชนที่ประสบภัยในพื้นที่ต่างๆ อย่างต่อเนื่อง แม้พระองค์จะทรงงานไม่ไหว แต่ก็ยังทรงนึกถึงประชาชนของพระองค์อยู่ตลอดเวลา
**จากที่ทำงานรับใช้พระองค์ท่าน อาจารย์ประทับใจพระองค์ท่านในเรื่องใดบ้าง
ในชีวิตที่ทำงานถวายพระองค์ท่านก็มีความประทับใจเกิดขึ้นมากมาย คือได้เห็นพระองค์ท่านทรงงานตลอดเวลา ทรงเป็นแบบอย่างที่คนไทยควรน้อมนำมาเป็นต้นแบบ
พระองค์ทรงงานมาตั้งแต่ขึ้นครองราชย์จนถึงปัจจุบัน ไม่เคยทรงหยุดพัก ทรงงานตลอดเวลาเพื่ออาณาประชาราษฎร์ ทำให้ผมเองระลึกอยู่เสมอว่าผมเป็นข้าราชการคนหนึ่งที่ทำงานถวายพระราชา  เราก็ต้องมีหน้าที่ทำงานอย่างเต็มที่ แล้วก็ดูพระองค์ท่านเป็นตัวอย่าง
ประการที่สอง พระองค์ทรงเป็นนักคิด ทรงคิดตลอดว่าจะทำโน่นทำนี่ แล้วก็รับสั่งออกมาเป็นโครงการพระราชดำริ แล้วก็ทรงขยัน ทรงรู้รอบ รอบรู้ ทั้งในเชิงวิชาการ เชิงเทคนิค ทรงรู้ทุกเรื่อง อย่างผมก็รู้แค่เรื่องน้ำ
แต่พระองค์ท่านทรงรู้ทุกเรื่อง เรื่องน้ำ เรื่องอากาศ เรื่องฝนเทียม แม้แต่เรื่องสังคม ปรัชญา ภาษาศาสตร์ ทรงรอบรู้หมด ผมจึงเทิดทูนพระองค์ท่านว่าทรงเป็นปราชญ์ และทั้งๆ ที่พระองค์ทรงเป็นพระมหากษัตริย์แต่ว่าพระองค์กลับทรงอ่อนน้อมถ่อมพระองค์ ไม่ทรงถือพระองค์เลย
เวลาเสด็จพระราชดำเนินไปเยี่ยมเยียนประชาชนก็ทรงตรัสกับประชาชนอย่างเป็นกันเองมาก ทรงน้อมพระองค์เข้าไปหาชาวบ้านที่มารับเสด็จ พระราชจริยวัตรของพระองค์ดูนุ่มนวล เปี่ยมไปด้วยพระเมตตา
เราก็มานึกถึงข้าราชการบางคนที่ไม่ได้เรื่องเลย ชอบวางตัวเป็นเจ้าขุนมูลนาย อย่างนี้ใช้ไม่ได้
**มีพระบรมราโชวาทใดบ้างที่ทำให้อาจารย์จดจำมาถึงทุกวันนี้
เยอะมากครับ โดยเฉพาะเรื่องของการทำงาน มีพระราชดำรัสของพระองค์ท่านที่ติดตรึงอยู่ในใจตลอดมาคือ พระกระแสรับสั่งซึ่งพระองค์ท่านรับสั่งกับผมและผู้บังคับบัญชาของผมโดยตรง เลย คือ นักพัฒนาต้องทำงานแบบปิดทองหลังพระ คือให้เรามุ่งทำงานอย่างทุ่มเท อย่าทำงานเพื่อหวังประโยชน์ หวังรางวัล เพราะถ้าทำงานเพื่อหวังประโยชน์มันก็จะต้องมองหน้ามองหลัง ซึ่งข้าราชการส่วนใหญ่เป็นแบบนี้
นอกจากนั้นพระองค์ก็ทรงมีพระบรมราโชวาทต่อมาว่า ข้าราชการต้องทำหน้าที่เพื่อหน้าที่ หากทำหน้าที่ได้สำเร็จจะเป็นรางวัลอันประเสริฐ” ซึ่งชั่วชีวิตการทำงานของผมก็ยึดถือสิ่งนี้มาตลอด
และทุกครั้งที่พระองค์ท่านทรงงานเสร็จและเสด็จพระราชดำเนินกลับ พระองค์จะรับสั่งกับข้าราชบริพารและข้าราชการที่ตามเสด็จอยู่เสมอว่า คิดให้ดี คิดให้ละเอียด คิดให้รอบคอบ หากคุ้มก็ทำ คำว่าคุ้มของพระองค์ท่านไม่ได้หมายถึงความคุ้มค่าในเชิงเศรษฐศาสตร์นะครับ แต่หมายถึงคุ้มค่าต่อประชาชน ทำไปแล้วเกิดประโยชน์ต่อประชาชนก็ถือว่าคุ้ม ตรงนี้เป็นพระราชดำรัสที่ผมระลึกอยู่เสมอเวลาทำงาน ทำให้เรามีสติ จะทำอะไรก็ต้องศึกษาให้ละเอียด และเอาประโยชน์ของประชาชนเป็นที่ตั้ง
เห็นได้ชัดว่าในใจของพระองค์ท่านมีแต่คำว่า ประชาชน
พระองค์ทรงงานอย่างหนักมาตลอดพระชนม์ชีพ
ก็เพื่อประโยชน์สุขของประชาชน
นี่ คือ ในหลวงของปวงชนชาวไทย
………………………………..
ขอขอบคุณ ผู้จัดการสุดสัปดาห์ ฉบับ วันที่ 03-12-2554

ชีวิตใหม่ จากในหลวง ลูกของท่านทั้งแผ่นดิน

ท่านตรัสว่า
“เดี๋ยวเราจะกลับทางเรือเอง
ให้ ฮ.เอาคนไข้ไปส่ง รพ.ก่อน”

ยายซุบ สามร้อยยอด เป็นหญิงชาวบ้านวัย 70 แห่ง บ้านคุ้งโตนด อำเภอกุยบุรี  จังหวัด ประจวบคีรีขันธ์  ยากจนมาตังแต่ยังสาวจวบจนวันนี้  หากแต่เธอกลับยืนยันว่า เธอมีอดีตที่มีความหมายต่อชีวิตของแก  อดีตที่หมายถึงชีวิตใหม่  ไม่ว่าแกจะยังจนต้องขอเงินลูก ๆ คนใช้ดังเช่นทุกวันนี้หรือจะมั่งมีศรีสุข  ถูกหวยรวยเบอร์อย่างไรก็ตาม  แกไม่เคยลืมเหตุการณ์ครั้งนั้น เหตุการณ์ที่ล่วงเลยมานานกว่า 40 ปี  การเสด็จพระราชดำเนินเยี่ยมเยียนราษฏรบ้านคุ้งโตนด อำเภอกุยบุรี  ไม่เพียงทำให้หมู่บ้านที่ยากจน  ล้าหลัง  ไม่มีแม้ถนนที่จะติดต่อกับโลกภายนอก ได้มีชีวิตที่ดีขึ้น  หากแต่การเสด็จพระราชดำเนินในครานั้นได้ทำให้หญิงคนหนึ่งมีชีวิตยืนยาวต่อมาจนถึงวันนี้ 
สมัยยังสาวยายเคยไปรับเสด็จในหลวงใช่ไหม ?          ยาย-ใช่ ตอนนั้นไปรับเสด็จที่ตีนถ้ำไทรในหมู่บ้านเรานี่แหละ ท่านเสด็จฯ มาทางเหนือ เราป่วยเป็นไส้ติ่ง ปวดท้องมาครึ่งเดือนแล้ว แต่ไม่รู้หรอกนะตอนนั้นว่าเป็นไส้ติ่ง ปวดท้องนอนซม คนในบ้านบอกในหลวงจะมา เราก็อยากเห็น อยากไปรับเสด็จ แต่ปวดท้องจนเดินไม่ไหว เดินไม่ไหว แล้วไปยังไง ? 
        ยาย-ก็ให้คนหามไป ใส่เกวียนไปเลย 


ทำไมถึงเลือกไปเฝ้าในหลวง ไม่ไปหาหมอ ? 
        ยาย-ไม่ รู้สิ คืออยากเห็นตัวจริง ๆ ใกล้ ๆ นะ คิดในใจว่ายอมตายได้ แต่ขอไปรับเสด็จก่อน แลกตัวแลกชีวิตกันเลย พูดง่าย ๆ ว่าวัดดวงเอาเลย อีกอย่างตอนนั้นถ้าเราไปหาหมอก็ลำบาก เพราะน้ำแห้ง เรือเครื่องก็ไม่มี ถ้าไปก็คงไปไม่ถึง มันคงจะตายก่อน 


แล้วตอนนั้นได้ถวายอะไรท่านบ้างไหม ?         ยาย-ยกมือพนมยังจะไม่ไหวเลย จะให้ถวายอะไรอีก (หัวเราะเสียงดัง) 
แล้วได้เห็นท่านไหม ? 
        ยาย-ก็ได้เห็นท่านอยู่ แต่ก็เห็นห่าง ๆ แล้วก็เห็นไม่นานเพราะว่าพระองค์ท่านต้องเสด็จฯ ไปที่ตีนเขาอีกลูกคนละฟาก ทรงไปดูเรื่องที่จะระเบิดเขาทำทางเข้าออกหมู่บ้าน 
ไส้ติ่งเรากำลังจะแตก แล้วรอดมาได้อย่างไร เกิดอะไรขึ้น ?
 

         ยาย-ตอนนั้นไส้ติ่งกำลังจะแตก เงินสักบาทก็ไม่มีติดตัว พอดีว่าพระราชินีท่านทรงเยี่ยมเยียนราษฏร แล้วทอดพระเนตรเห็นเรานั่งหน้าซีด พิงเพื่อน คือได้ตอนนั้นมันไม่ไหวจริง ๆ ท่านทอดพระเนตรเห็นก็คงสังเกตได้ว่าอาการเราไม่ดี พระองค์ก็ถามว่า เป็นอะไร ท่านบอกให้พูดธรรมดาก็ได้ เราบอกว่าเจ็บท้อง พระองค์ท่านตรัสถามต่อว่า เจ็บมากี่วันแล้ว เราก็บอกว่า เจ็บมาครึ่งเดือนเห็นจะได้ ท่านก็เลยบอกให้หมอที่มาด้วยตรวจดู 

แล้วหมอว่ายังไง ?
 

          ยาย-หมอบอกว่าไส้ติ่งกำลังจะแตก พอหมอบอกอยางนั้น พระองค์ท่านก็ทรงติดต่อไปที่ในหลวงซึ่งทรงอยู่ที่ตีนเขาอีกลูก 
รู้ได้ยังไงว่าสมเด็จพระนางเจ้าฯ ทรงติดต่อไปที่ในหลวง ?
 

          ยาย-รู้สิ เพราะเห็นในหลวง พระองค์ท่านทรงวิ่งจากตีนเขาลูกโน้นมาเลย ห่างกันถึง กิโล (แค่นี้ก็ตื้นตันแทนคุณยายแล้ว)
รู้สึกอย่างไรบ้างในตอนนั้น ? 
          ยาย-ดีใจแล้วก็ปลื้มใจแบบมาก ๆ ตอนแรกคิดว่ากำลังจะตายนี่ คิดว่าตัวเองรอดแน่ มันมีกำลังใจ คิดว่าขนาดพระเจ้าแผ่นดินยังเอาใจใส่เราขนาดนี้ เราจะตายไม่ได้ 
พอในหลวงเสด็จมาถึง ทรงตรัสว่าอย่างไรหรือไม่ ? 
          ยาย-ท่านให้เอา ฮ. มารับ ท่านตรัสว่า เดี๋ยวเราจะกลับทางเรือเอง ให้เอาคนไข้ไปส่งก่อน พอพระองค์ท่านตรัส หมอสองคนก็หิ้วปีกเราไป ในหลวงท่านทรงเมตตาเราไปจนถึงเครื่อง พอเราขึ้นไป ก่อนที่ประตู ฮ. จะปิด เราก็มองลงมาเห็นในหลวง ท่านทรงโบกพระหัตถ์ เราซาบซึ้งมาก ยิ่งบอกตัวของเราเลยว่าเราจะตายไม่ได้ 

ถ้าไม่มีในหลวงในวันนั้น ก็ต้องตายแน่ ? 
         ยาย-แน่นอน ไม่ต้องอะไรหรอก หมอบอกว่า มาช้ากว่านี้แค่ 2-3 นาที ก็ไม่รอดแล้ว แล้ววันนั้นอย่างที่บอกว่าเรือเครื่องก็ไม่มี น้ำก็แห้ง ไม่รู้ใช้เวลาครึ่งวันจะเดินทางไปถึงโรงพยาบาลหรือเปล่า ถ้าในหลวงไม่เสด็จมาที่นี่ วันนั้นก็ตายแน่ ตายทั้ง ๆ ที่ยังไม่รู้เลยว่าตัวเองเป็นอะไรตาย 


เหมือนกับได้ชีวิตใหม่ ? 
         ยาย-ใช่ ชีวิตทุกวันนี้ถึงฉันแก่แล้ว แต่เมื่อนึกถึงวันนั้นทีไรรู้สึกเหมือนได้เกิดใหม่ทุกที ตอนนั่งดูโทรทัศน์ เวลาเห็นท่าน เราก็จะพนมมือไหว้ตลอด รู้สึกว่าท่านได้มอบชีวิตใหม่ให้กับเรา 

ตอนนั้นอยู่บน ฮ. เป็นอย่างไรบ้าง ?
 

         ยาย-จำไม่ค่อยได้ รู้แต่ว่าพอบินขึ้นไปพักใหญ่หมอก็ถามว่าเป็นยังไงบ้าง เราพูดไม่ค่อยไหว แต่ก็บอกไปว่าปวดท้อง บน ฮ. นอกจากเรา ก็มีหมออีก คน แล้วก็คนขับอีก คน จำได้แค่นี้ล่ะ ฮ. พาไปที่โรงพยาบาลไหน ? 
         ยาย-โรงพยาบาลพระมงกุฏฯ เพชรบุรี 

แล้วพักอยู่กี่วัน ? 
         ยาย-ปกติคนเป็นไส้ติ่งทั่วไปเขาพักกัน 3-4 วันก็ออกได้แล้ว แต่เราเป็นหนักต้องพักถึง 24 วัน ถ้าในหลวงไม่ช่วยก็ตายแน่ แล้วถ้าเราตาย ลูกเต้าก็ไม่รู้จะอยู่ยังไง ในหลวงท่านทรงเมตตา ทรงดูแลเราอย่างดี ห้องที่เราพักอยู่นี่ดีมาก เป็นห้องพิเศษเลย พูดตรง ๆ ว่า ดีกว่าบ้านที่ฉันอยู่อีก หมอก็นิสัยดี พูดจากับเราเพราะแล้วก็ใจดี 
         
** ในหลวงท่านทรงห่วงใยเรามากมีคนมาเยี่ยม ถามอาการ ถามสารทุกข์สุขดิบทุกวัน คนใกล้ชิดพระองค์ท่านก็ถามเรานะว่า จะฝากอะไรถึงท่านไหม เราบอกให้ พระองค์ทรงพระเจริญ ทรงพระเจริญ พูดได้แค่นั้น มันตื้นตันจนนึกไม่ออก** หลังจากวันนั้นแล้วเป็นอย่างไร ? 
          ยาย-ไม่มีโอกาสได้เข้าเฝ้าฯ พระองค์ท่านอีกเลย ถ้าเรามีโอกาส จะขอเข้าไปกราบแทบพระบาทเลย สิ่งที่พระองค์ท่านทรงช่วยเหลือเราไว้ เป็นความซาบซึ้งที่สุดในชีวิตแล้ว 
         
** คิดูสิโลกนี้จะหากษัตริย์อย่างท่านได้ที่ไหน เราเป็นแค่ชาวบ้านจน ๆ แต่ท่านห่วงเราเหมือนเราเป็นลูกพระองค์ท่าน ทรงห่วงเราเหมือนที่เราห่วงลูก ท่านทรงเสียสละแม้กระทั่งของส่วนพระองค์ ทรงยอมลำบากกลับทางเรือเพื่อคนอย่างเรา พูดตรง ๆ ว่าสิ่งที่พระองค์ทรงทำให้ฉันตายแล้วเกิดใหม่อีกสิบชาติก็ทดแทนไม่หมด** กลับมาบ้านแล้ว เป็นอย่างไร ? 
         ยาย-ตอนที่ออกจากโรงพยาบาลใหม่ ๆ พระองค์ท่านก็ส่งเงินมาให้อยู่ถึง ปี ครั้งละ 3-5 พันบาท ส่งมาหลายครั้งอยู่ เรารู้เพระว่าใส่ซองสีขาวประทับตราสำนักพระราชวัง จากเหตุการณ์นั้นทำให้เรารักในหลวงของเรามาก          แล้วทุกวันนี้ก็ยังน้อยใจตัวเองอยู่ ว่า เวลาที่ท่านป่วย เราก็ไม่มีเงินไปเฝ้า ไปแสดงความจงรักภักดีกับท่าน ได้แต่ร้องไห้อยู่กับบ้าน นั่งร้องไห้ทุกวัน ดูข่าวทุกวันไม่เคยเว้นเลย  ** ฉันอายตัวเองว่า ในขณะที่ท่านให้ชีวิตใหม่กับเรา แต่เราช่วยอะไรท่านไม่ได้เลย** 

การเสียสละของในหลวงคราวนั้น ได้เอามาปฏิบัติตามหรือไม่ ?
 

          ยาย-มีส่วนมากเลย เวลาคนในหมู่บ้านเขาป่วยเป็นอะไร ฉันก็ไปเยี่ยมเขาทั่ว ไปไหนไปกัน มีใครเจ็บในหมู่บ้านนี่ฉันจะ ไปเยี่ยมหมด บางทีถึงไม่ใช่หมอ ไม่ใช่ญาติเขา แต่เราก็ไป ไปนั่งพูดคุยให้กำลังใจ บางทีก็ไปบีบให้นวดให้ นี่คือสิ่งที่ในหลวงให้เรา และเราให้คนอื่นต่อ 
         ** เมืองไทยเราโชคดีที่มีในหลวง โชคดีมาก ๆ ไม่มีกษัตริย์ที่ไหนในโลกอีกแล้วที่จะเป็นห่วงชาวบ้านอย่างฉันเท่ากับท่าน คนอย่างเราเปรียบไปก็เหมือนมดปลวก แต่ท่านก็ยังใส่ใจ ท่านใส่ใจจริง ๆ เหมือนกับว่าคนไทย คือ ลูกของท่านทั้งแผ่นดิน**
*ขอขอบคุณ www.dek-d.com