การค้าระหว่างประเทศที่ใช้ Letter of Credit เป็นเครื่องมือในการชำระเงินค่าสินค้าทั้ง "ผู้ส่งออกและผู้นำเข้า"
เราควรต้องมีความเข้าใจในเงื่อนไขของ Letter of Credit เพื่อไม่ให้คู่ค้ามาเอาเปรียบ เพราะมีค่าใช้จ่าย เช่น ค่าธรรมเนียม ใครควรรับผิดชอบค่าใช้จ่ายนั้น
โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้ส่งออกต้องส่งสินค้า "ภายใต้เงื่อนไขของ L/C" ผู้ส่งออกจะต้องทำเอกสาร และหาเอกสารให้ครบถ้วนถูกต้องตามที่ L/C กำหนด เพราะอาจจะเป็นสาเหตุที่ไม่ได้รับเงินตามกำหนด หรืออาจไม่ได้รับเลย
ผู้นำเข้าก็เช่นเดียวกัน ก่อนจะเห็นสินค้าว่าถูกต้องตามคุณภาพ รวมทั้งจำนวนสินค้าครบถ้วนหรือไม่ก็ต้องชำระเงินก่อนที่จะเห็นสินค้า ก็ต้องเข้าใจใน L/C และเอกสารนั้น ดังนั้นการอบรมนี้จะเจาะลึกเนื้อหาของ L/C โดยละเอียด ว่าอย่างไรทำไม่ได้ อย่างไรทำได้ เพื่อไม่ให้เกิดข้อผิดพลาด และเสียเปรียบเชิงการการค้า การส่งออกและนำเข้า
จะค้าจะขาย ต้องมีความรู้ เกี่ยวกับ ด้านต่างๆ ของคำว่า L/C ความรู้เกี่ยวกับเลตเตอร์ออฟเครดิตในการค้าระหว่างประเทศ ได้แก่
1) เลตเตอร์ออฟเครดิตประเภท/ชนิดต่าง ๆ ซึ่ง ประเภท L/C มี 2 ชนิดคือ
2) ชนิดของ L/C
3) การเปิดเลตเตอร์ออฟเครดิตโดยผู้ซื้อ เพื่อนำเข้าวัตถุดิบในการผลิตส่งออก มีเรื่องที่ต้องรู่้คือ
5) การขอให้ธนาคารยืนยันชำระเงินตามเลตเตอร์ออฟเครดิต
6) การขอให้ธนาคารโอนเลตเตอร์ออฟเครดิตให้แก่ผู้รับโอน
7) การโอนเลตเตอร์ออฟเครดิตประเภทต่าง ๆ
8) การอ่านและตีความเลตเตอร์ออฟเครดิต
ในแต่ละประเด็นมีรายละเอียดและเทคนิคมากมาย ไว้จะเอารายละเอียดลงลึกนอกเหนือจากประเด็นที่จะศึกษามีขอบข่ายดังนี้แล้ว ในเชิงลึกว่าแต่ละข้อมีรายละเอียดอย่างไร จะนำมาขยายต่อไปค่ะ
11 มกราคม 2557
เราควรต้องมีความเข้าใจในเงื่อนไขของ Letter of Credit เพื่อไม่ให้คู่ค้ามาเอาเปรียบ เพราะมีค่าใช้จ่าย เช่น ค่าธรรมเนียม ใครควรรับผิดชอบค่าใช้จ่ายนั้น
โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้ส่งออกต้องส่งสินค้า "ภายใต้เงื่อนไขของ L/C" ผู้ส่งออกจะต้องทำเอกสาร และหาเอกสารให้ครบถ้วนถูกต้องตามที่ L/C กำหนด เพราะอาจจะเป็นสาเหตุที่ไม่ได้รับเงินตามกำหนด หรืออาจไม่ได้รับเลย
ผู้นำเข้าก็เช่นเดียวกัน ก่อนจะเห็นสินค้าว่าถูกต้องตามคุณภาพ รวมทั้งจำนวนสินค้าครบถ้วนหรือไม่ก็ต้องชำระเงินก่อนที่จะเห็นสินค้า ก็ต้องเข้าใจใน L/C และเอกสารนั้น ดังนั้นการอบรมนี้จะเจาะลึกเนื้อหาของ L/C โดยละเอียด ว่าอย่างไรทำไม่ได้ อย่างไรทำได้ เพื่อไม่ให้เกิดข้อผิดพลาด และเสียเปรียบเชิงการการค้า การส่งออกและนำเข้า
จะค้าจะขาย ต้องมีความรู้ เกี่ยวกับ ด้านต่างๆ ของคำว่า L/C ความรู้เกี่ยวกับเลตเตอร์ออฟเครดิตในการค้าระหว่างประเทศ ได้แก่
1) เลตเตอร์ออฟเครดิตประเภท/ชนิดต่าง ๆ ซึ่ง ประเภท L/C มี 2 ชนิดคือ
- IRREVOCABLE L/C (เพิกถอนไม่ได้)
- REVOCABLE L/C (เพิกถอนได้)
2) ชนิดของ L/C
- NORMAL L/C (L/C ปกติทั่วไป)
- CONFIRMED L/C (L/C ที่ได้รับการยืนยันชำระเงิน)
- TRANSFERABLE L/C (L/C ที่สามารถโอนได้)
- RED CLAUSE L/C (L/C ที่เบิกเงินได้ก่อนส่งสินค้า)
- REVOLVING L/C (L/C ที่หมุนเวียนได้)
- BACK TO BACK L/C (L/C ฉบับที่สองที่มี L/C ฉบับแรกรองรับการเปิด)
- STANDBY L/C (L/C เพื่อการค้ำประกัน)
- DOMESTIC L/C (L/C ภายในประเทศ)
3) การเปิดเลตเตอร์ออฟเครดิตโดยผู้ซื้อ เพื่อนำเข้าวัตถุดิบในการผลิตส่งออก มีเรื่องที่ต้องรู่้คือ
- การกรอกใบคำขอเปิดเลตเตอร์ออฟเครดิต
- ขั้นตอนการเปิดเลตเตอร์ออฟเครดิต
- วงเงินและบริการ
- L/C AT SIGHT, L/C TERMS, TRUST RECEIPT, SHIPPING FUARANTEE
- การขอทำ TRUST RECEIPT, SHIPPING GUARANTEE
- เข้าใจลักษณะของ L/C ที่ผู้ส่งออกได้รับ
- PRE-ADVICE OF L/C (L/C ฉบับแจ้งเบื้องต้น)
- CONFIRMATION OF L/C (L/C ฉบับยืนยันการเปิด)
- ORIGINAL L/C OPENED BY MAIL (L/C ต้นฉบับส่งทางไปรษณีย์)
- CREDIT OPERATIVE INSTRUMENTS OPENED BY FULL DETAILS TELECOMUNICATION (L/C ฉบับมีผลสมบูรณ์เปิดทางโทรคมนาคม)
5) การขอให้ธนาคารยืนยันชำระเงินตามเลตเตอร์ออฟเครดิต
6) การขอให้ธนาคารโอนเลตเตอร์ออฟเครดิตให้แก่ผู้รับโอน
7) การโอนเลตเตอร์ออฟเครดิตประเภทต่าง ๆ
8) การอ่านและตีความเลตเตอร์ออฟเครดิต
ในแต่ละประเด็นมีรายละเอียดและเทคนิคมากมาย ไว้จะเอารายละเอียดลงลึกนอกเหนือจากประเด็นที่จะศึกษามีขอบข่ายดังนี้แล้ว ในเชิงลึกว่าแต่ละข้อมีรายละเอียดอย่างไร จะนำมาขยายต่อไปค่ะ
11 มกราคม 2557
No comments:
Post a Comment