จากผลการสำรวจ "ลักษณะโบนัส" เพื่อแรงจูงใจการทำงาน ในปี 2013
มีรายงานผลการสำรวจดังนี้ (จากผลการสำรวจค่าจ้างของ PMAT)
1. มีจำนวนองค์กรถึง 70% กำหนดนโยบายการให้โบนัสแบบ "ผันแปรตามผลงานส่วนบุคคล" คือ
2. มีจำนวนองค์กร 20% ให้โบนัสพนักงานเท่ากันทุกคน
3. มีจำนวนองค์กร อีก 10% ให้โบนัสผสมผสานกันทั้งสองวิธี
อัตราโบนัสที่บริษัทต่างๆ ให้กันในปีที่ผ่านมาเป็นอย่างไรกันบ้าง??
ข้อมูลข้างต้นเป็นข้อมูลเฉลี่ยของทุกกลุ่มอุตสาหกรรมรวมกัน แต่ถ้ามีการแยกอุตสาหกรรม การจ่ายโบนัสจะมีความแตกต่างกันค่อนข้างมากทีเดียวครับ ในปีที่ผ่านมานั้น ธุรกิจที่จ่ายโบนัสสูงสุด (จากผลการสำรวจค่าจ้างของ PMAT) 5 อันดับแรกมีดังนี้
อจ.ประคัลภ์ ผู้เชี่ยวชาญงาน HR ให้ความเห็นว่า #
สิ่งที่ผมสังเกตเห็นจากผลการสำรวจค่าจ้างฯ มาทุกปีเป็นเวลามากกว่า 15 ปี ก็คือ แนวโน้มเรื่องของการขึ้นเงินเดือนตามผลงานนั้นมีแนวโน้มที่ลดลงไปเรื่อยๆ จาก 15 ปีก่อนที่อยู่ในอัตราประมาณ 10-15% แต่ในปัจจุบันเหลืออยู่แค่ประมาณ 5-6% เท่านั้น และกำลังจะมีแนวโน้มที่ลดลงไปเรื่อยๆอีก
สาเหตุก็เพราะถ้าองค์กรขึ้นเงินเดือนให้พนักงานในอัตราที่สูงมากๆ จะเป็นการเพิ่มภาระในการบริหารค่าตอบแทนขององค์กรมากขึ้นทุกปี เนื่องจากประเทศไทยเงินเดือนลดไม่ได้ มีแต่จะเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ แต่องค์กรยังต้องการที่จะสร้างแรงจูงใจให้พนักงานให้มีพลังในการที่จะสร้างผลงานที่ดีอย่างสม่ำเสมอ และเครื่องมือที่จะสร้างแรงจูงใจที่เหมาะสม และไม่ทำให้ต้นทุนค่าจ้างสูงขึ้นในระยะยาว ก็คือ “โบนัส” ตามผลงานนั่นเอง....
มีรายงานผลการสำรวจดังนี้ (จากผลการสำรวจค่าจ้างของ PMAT)
1. มีจำนวนองค์กรถึง 70% กำหนดนโยบายการให้โบนัสแบบ "ผันแปรตามผลงานส่วนบุคคล" คือ
- โบนัสที่จะให้นั้นไม่ให้พนักงานทุกคนเท่ากัน
- จะใช้ผลงานของพนักงานที่ทำได้ในปีนั้นๆ มาเป็นเครื่องมือในการให้โบนัส
- พนักงานแต่ละคนได้โบนัสไม่เท่ากัน
- บริษัทฯ คิดว่าวิธีนี้เป็นวิธีที่สร้างแรงจูงใจในการสร้างผลงานของพนักงานได้ดีที่สุด
- ข้อจำกัดก็คือ องค์กรจะต้องมีระบบการประเมินผลงานที่ดีมาก และสามารถที่จะบอกถึงผลงานของพนักงานแต่ละคนได้อย่างชัดเจน
- วิธีการนี้มีการใช้เพิ่มขึ้นจากปีที่ผ่านมาซึ่งมีแค่ 58% ปีนี้ปรับเป็น 70 %
- วิธีนี้เริ่มได้รับความนิยมมากขึ้นทุกปีๆ ในระยะ 10 ปี ที่ผ่านมา
2. มีจำนวนองค์กร 20% ให้โบนัสพนักงานเท่ากันทุกคน
- บริษัทที่ยังคงให้โบนัสพนักงานเท่ากันทุกคนนั้น ส่วนใหญ่ให้เหตุผลว่า เน้นการทำงานเป็นทีมมากกว่าเน้นการที่ให้พนักงานแต่ละคนแข่งขันกันสร้างผลงานกันเอง โดยไม่พิจารณาถึงผลงานที่แตกต่างกันของพนักงานแต่ละคน
- พิจารณาจากยอดโบนัสที่จะให้เท่านั้น
3. มีจำนวนองค์กร อีก 10% ให้โบนัสผสมผสานกันทั้งสองวิธี
- กำหนดการจ่ายโบนัสออกเป็น 2 ลักษณะ คือ ส่วนหนึ่งให้เท่ากันทุกคน
- อีกส่วนหนึ่ง ให้ต่างกันตามผลงานของพนักงานแต่ละคน เพื่อที่จะรักษาการทำงานเป็นทีมไว้ส่วนหนึ่ง
- ส่งเสริมการสร้างผลงานที่ดีของพนักงานด้วย ใครที่ทุ่มเททำงาน และสามารถสร้างผลงานที่ดีกว่าอีกคนหนึ่ง ก็น่าจะได้โบนัสที่มากกว่าคนที่ทำผลงานได้น้อยกว่า
อัตราโบนัสที่บริษัทต่างๆ ให้กันในปีที่ผ่านมาเป็นอย่างไรกันบ้าง??
1)โบนัสคงที่ บริษัทที่มีการจ่ายโบนัสแบบคงที่ คือ ให้พนักงานทุกคนเท่ากันหมด อัตราเฉลี่ยที่องค์กรส่วนใหญ่ให้กันก็คือ 1.5 เดือน
2) โบนัสผันแปรตามผลงาน บริษัทที่จ่ายโบนัสพนักงานไม่เท่ากัน หรือแตกต่างกันกันตามผลงานพนักงานแต่ละคนนั้น ให้โบนัสเฉลี่ยอยู่ที่ 2.3 เดือน
3) บริษัทที่ให้โบนัสผสมทั้งสองแบบ ให้โบนัสเฉลี่ยอยู่ที่ 2.8 เดือน
2) โบนัสผันแปรตามผลงาน บริษัทที่จ่ายโบนัสพนักงานไม่เท่ากัน หรือแตกต่างกันกันตามผลงานพนักงานแต่ละคนนั้น ให้โบนัสเฉลี่ยอยู่ที่ 2.3 เดือน
3) บริษัทที่ให้โบนัสผสมทั้งสองแบบ ให้โบนัสเฉลี่ยอยู่ที่ 2.8 เดือน
ข้อมูลข้างต้นเป็นข้อมูลเฉลี่ยของทุกกลุ่มอุตสาหกรรมรวมกัน แต่ถ้ามีการแยกอุตสาหกรรม การจ่ายโบนัสจะมีความแตกต่างกันค่อนข้างมากทีเดียวครับ ในปีที่ผ่านมานั้น ธุรกิจที่จ่ายโบนัสสูงสุด (จากผลการสำรวจค่าจ้างของ PMAT) 5 อันดับแรกมีดังนี้
- กลุ่มธุรกิจยานยนต์ จ่ายโบนัสเฉลี่ยที่ 9 เดือน
- กลุ่มปิโตรเคมี จ่ายโบนัสเฉลี่ยที่ 8 เดือน
- กลุ่มไฟฟ้าและอิเล็คทรอนิคส์ จ่ายโบนัสเฉลี่ยที่ 5.25 เดือน
- กลุ่มอสังหาริมทรัพย์ จ่ายโบนัสเฉลี่ยที่ 5 เดือน
- กลุ่มธุรกิจอาหาร จ่ายโบนัสเฉลี่ยที่ 5 เดือน
อจ.ประคัลภ์ ผู้เชี่ยวชาญงาน HR ให้ความเห็นว่า #
สิ่งที่ผมสังเกตเห็นจากผลการสำรวจค่าจ้างฯ มาทุกปีเป็นเวลามากกว่า 15 ปี ก็คือ แนวโน้มเรื่องของการขึ้นเงินเดือนตามผลงานนั้นมีแนวโน้มที่ลดลงไปเรื่อยๆ จาก 15 ปีก่อนที่อยู่ในอัตราประมาณ 10-15% แต่ในปัจจุบันเหลืออยู่แค่ประมาณ 5-6% เท่านั้น และกำลังจะมีแนวโน้มที่ลดลงไปเรื่อยๆอีก
สาเหตุก็เพราะถ้าองค์กรขึ้นเงินเดือนให้พนักงานในอัตราที่สูงมากๆ จะเป็นการเพิ่มภาระในการบริหารค่าตอบแทนขององค์กรมากขึ้นทุกปี เนื่องจากประเทศไทยเงินเดือนลดไม่ได้ มีแต่จะเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ แต่องค์กรยังต้องการที่จะสร้างแรงจูงใจให้พนักงานให้มีพลังในการที่จะสร้างผลงานที่ดีอย่างสม่ำเสมอ และเครื่องมือที่จะสร้างแรงจูงใจที่เหมาะสม และไม่ทำให้ต้นทุนค่าจ้างสูงขึ้นในระยะยาว ก็คือ “โบนัส” ตามผลงานนั่นเอง....
No comments:
Post a Comment